Hi quest ,  welcome  |  sign in  |  registered now  |  need help ?

จ่ายน้ำท่วมใน30วัน

Written By My First Web Blog on Thursday, September 8, 2011 | 12:58 AM

ปูยันถึงมือแน่ กทม.ปริ่มแล้ว



บัญชาการ - น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรองนายกฯและรมว.มหาดไทย และรมว.กลาโหม ตรวจเยี่ยมชาวบ้านและหาทางแก้ปัญหาน้ำท่วม ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เมื่อวันที่ 7 ก.ย.
นายกฯ ยกคณะลุยตรวจน้ำท่วมชัยนาท อ่างทอง อยุธยา สั่งเพิ่มช่องทางระบายน้ำให้มากขึ้น แต่ต้องกระทบชาวบ้านน้อยที่สุด ควบคู่ชดเชยเยียวยา ย้ำครอบครัวละ 5,000 บาท พื้นที่การ เกษตรเสียหาย ไร่ละ 2,222 บาท ยันงบฯ ไม่เป็นอุปสรรค จ่ายรวดเร็วภายใน 30 วัน เล็งแผนระยะยาวแก้ จุดไหนท่วมซ้ำซาก จะปล่อยให้เป็นที่รับน้ำ แล้วหาพื้นที่ใหม่ทดแทนให้ชาวบ้าน มท.รายงานยังประสบภัย 12 จังหวัด เสียชีวิต 69 ราย น้ำเจ้าพระยาเพิ่มไม่หยุด กทม.สั่งพร้อม 24 ช.ม. ใกล้ถึงจุดรับน้ำได้เต็มที่แล้ว ที่สุพรรณฯ ลามถึงกลางเมือง 500 หลังคาเรือน กรุงเก่าทะลักจมโรงเรียน ผักไห่เกือบท่วมถึงชั้น 2 ส่วนอ่างทองจมหนัก 5 อำเภอ สิงห์บุรีขยายวงกว้าง น้ำล้นประตูระบายแล้ว

เมื่อ เวลา 12.30 น. วันที่ 7 ก.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และ รมว.มหาด ไทย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางตรวจสถานการณ์น้ำท่วมที่เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ซึ่ง จ.ชัยนาท ประสบอุทกภัย 5 อำเภอ

นายกฯ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนมีหัวใจเดียว กัน คือต้องการปกป้องและช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด ทำให้น้ำลดลงโดยเร็ว มีความเป็นห่วงค่อนข้างมาก และเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้แม้เราจะเร่งระบายน้ำ แต่หากมีปริมาณฝนตกลงมา ก็เท่ากับเพิ่มปริมาณน้ำที่ท่วมขังอยู่ จึงจำเป็นต้องเร่งและหาช่องทางระบายน้ำให้มากขึ้น โดยขอให้กรมชลประทานเฝ้าระมัดระวังปริมาณน้ำ และควบคุมการปล่อยน้ำ เพื่อให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด ขอให้ ผวจ.ช่วยดูแลเรื่องการเยียวยา

น.ส.ยิ่ง ลักษณ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ขอให้ร่วมมือกันหาพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติ เตรียมขุดลอกคูคลองไว้รองรับน้ำ เพื่อบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคกลาง และกทม. เพราะเชื่อว่าจะมีน้ำมากขึ้นกว่านี้แน่ ส่วนภาคอีสานและภาคเหนือที่ยังมีน้ำท่วมอยู่ ต้องพยายามหาที่รับน้ำ เพื่อให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด ขอให้ทุกจังหวัดปฏิบัติตามแนวทางนี้และขอความร่วมมือจากกองทัพให้ทำงานร่วม กับผวจ. ช่วยเหลือประชาชนทั้งในจังหวัดที่มีน้ำท่วมขัง และยังไม่มีน้ำท่วม

ต่อ มาเวลา 14.30 น. นายกฯ และคณะเดินทางมายังวัดคงคาราม ต.โพนางดำตก อ.สรรพยา เยี่ยมผู้ประสบภัย พร้อมทั้งมอบถุงยังชีพ เรือ สุขาเคลื่อนที่ สุขาลอยน้ำ และโถส้วม โดยนายกฯ กล่าวว่า การทำงานจากส่วนกลางทุกหน่วยงานขณะนี้ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อเร่งช่วยเหลือป้องกันไม่ให้ปริมาณน้ำสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนไป มากกว่านี้ หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด รัฐบาลจะดูแลเยียวยาให้ครอบครัวละ 5,000 บาท และกำลังเร่งพิจารณา เพื่อตัดจ่ายเงินช่วยเหลือให้ได้ภายใน 30 วัน

จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ขณะนี้แบ่งการแก้ไขปัญหาออกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของพื้นที่ที่กำลังจะถูกน้ำไหลลงมา ก็จะทำคันกั้นน้ำ ขุดลอกคูคลองเพิ่มที่ระบายน้ำ และรองรับน้ำ สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังอยู่นั้นจะต้องไปดูในรายละเอียดของพื้นที่ ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ขณะที่การเยียวยาก็จะดูแลอย่างใกล้ชิด และให้เกิดผลอย่างรวดเร็ว ทั้งการดูแลรายครัวเรือน ครัวเรือนละ 5,000 บาท และพืชเกษตรกรรม พร้อมทั้งสั่งการให้ ผวจ.ประสานกับทางกระทรวงแรงงาน ให้หาอาชีพเสริมให้ประชาชนที่ไม่สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ในช่วงนี้

ผู้ สื่อข่าวถามว่า เป็นไปได้ใช่หรือไม่ว่าพื้นที่ใดที่มีน้ำท่วมขังซ้ำซากจะจัดให้เป็นพื้นที่ รองรับน้ำ แล้วหาพื้นที่ใหม่ทดแทนให้ชาวบ้าน นายกฯ กล่าวว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจพื้นที่อยู่ หากพื้นที่ใดเป็นพื้นที่รับน้ำคงต้องหาที่อยู่ใหม่ให้ประชาชน แต่หากมีบ้านจำนวนมาก ก็อาจหาวิธีสร้างแนวป้องกันน้ำ โดยประสานกระทรวงกลาโหม หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ร่วมทำงานกับ ผวจ.ลงสำรวจพื้นที่เป็นรายจังหวัด

ต่อข้อถามว่ามีจังหวัดไหนที่ของบ ประมาณเพิ่มเติมบ้าง จากงบฯ ที่มีอยู่ 50 ล้านบาท น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า มีของบฯ เพิ่มเติมบ้าง แต่เรื่องงบฯ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ไม่จำเป็นต้องขยายวงเงิน เพราะขบวนการการอนุมัติงบฯ เพิ่มเติมทำได้รวดเร็วอยู่แล้ว แต่ขอดูที่ความจำเป็นในแต่ละพื้นที่ ความจริงปัญหาระดับน้ำในปีนี้ไม่ได้เป็นปัญหาสูงกว่าที่ผ่านๆ มา แต่ปัญหาภูมิศาสตร์ของประเทศเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้มาก เพราะการระบายน้ำออกจากพื้นที่หนึ่งก็จะไปสร้างผลกระทบกับอีกพื้นที่หนึ่ง โจทย์วันนี้คือพยายามป้องกันพื้นที่ไม่ให้น้ำท่วมเข้าถึง และไม่ลืมที่จะดูแลประชาชนในเขตที่มีน้ำท่วมขัง

ต่อมาเวลา 16.30 น. นายกฯ เดินทางยัง อบต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เยี่ยมเยียน ผู้ประสบภัย และให้กำลังใจชาวบ้านที่ช่วย กันสร้างสะพานเชื่อมหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วม พร้อม ทั้งมอบถุงยังชีพ เรือ สุขาเคลื่อนที่ สุขาลอยน้ำ โถส้วม และอุปกรณ์สำหรับสร้างทางเดินชั่วคราว

จากนั้นเวลา 18.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดิน ทางมายังศาลาประชาคม อ.เสนา จ.พระนครศรี อยุธยา พร้อมทั้งกล่าวขณะเยี่ยมชาวบ้านว่า อยากให้ทุกคนที่ประสบปัญหาเดือดร้อนไว้วาง ใจได้ เพราะรัฐบาลและหน่วยงานรัฐทุกหน่วยเร่งทำงานเชิงบูรณาการให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะการช่วยภาคครัวเรือน ครัวเรือนละ 5,000 บาท และชดเชยพื้นที่เกษตรกร จากเดิมไร่ละ 600 บาท เพิ่มเป็น 2,222 บาทต่อไร่ การให้ความช่วยเหลือครั้งนี้ รัฐบาลจะไม่รอให้น้ำลด พื้นที่ใดสำรวจและสรุปเสร็จรัฐบาลพร้อมจ่ายให้ทันที ก่อนที่นายกฯ จะเดินทางต่อไปยังชุมชนหัวแหลม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา

วัน เดียวกัน นายภานุ แย้มศรี ผอ.ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะประธานการประชุมศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถาน การณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) รายงานว่า ยังคงมีอุทกภัยใน 12 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย, พิจิตร, พิษณุโลก, นครสวรรค์, พระ นครศรีอยุธยา, อ่างทอง, ชัยนาท, อุบลราชธานี, สิงห์บุรี, นครปฐม, สุพรรณบุรี และนนทบุรี มีผู้เสียชีวิต 69 ราย ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีปริมาณน้ำมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากน้ำเหนือเพิ่มมากขึ้น สูงขึ้นวันละ 10-15 ซ.ม. ต่อเนื่องไปจนถึงกลางเดือนก.ย. ขอเตือนประชา ชนริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมา บริเวณ จ.ชัยนาท, จ.สิงห์ บุรี, จ.อ่างทอง, จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.นนทบุรี เตรียมป้องกันภาวะน้ำล้นตลิ่ง เสริมแนวคันกั้นน้ำ พร้อมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง

ด้านนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้การดูแลรักษาโรคทางกายและดูแล จิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วมทุกจังหวัดอย่างต่อเนื่องทุกวัน วันละ 100-120 ทีม พบผู้ป่วยวันละ 1,000 ราย ร้อยละ 80 เป็นโรคน้ำกัดเท้า ยอดผู้ป่วยสะสมตลอดกว่า 1 เดือน รวม 79,328 ราย นอกจากนี้ ยังพบผู้ประสบภัยมีความเครียดสูง 531 ราย มีภาวะซึมเศร้า 1,380 ราย เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 190 ราย นอกจากจะให้เจ้าหน้าที่ออกติดตามเยี่ยมให้กำลังใจอย่างใกล้ชิดแล้ว ยังมีบริการสายด่วน 1323 จำนวน 32 คู่สาย ให้บริการปรึกษาปัญหาทางจิตใจแก่ผู้ประสบภัยทุกจังหวัด โทร.ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลเปิดบัญชี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณ ภัย สำนักนายกรัฐมนตรี" เป็นบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ 067-0068950 โดยผู้บริจาคที่จะโอนเงินเข้าบัญชีกรุณานำใบนำฝากที่ได้รับจากธนาคาร พร้อมทั้งระบุชื่อ สกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ส่งโทรสารให้กองคลัง สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ หมายเลข 0-2282-5296 เพื่อจะออกใบเสร็จรับเงิน และผู้บริจาคสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ต่อไป หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลข 0-2282-4130

ที่ศาลาว่าการกทม. นายสัญญา ชีนิมิตร ผอ.สำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวว่า ระดับน้ำขึ้นสูงสุดวัดได้เมื่อคืนวันที่ 7 ก.ย. ที่ปากคลองตลาดอยู่ที่ 1.42 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง กทม. สามารถรับปริมาณน้ำได้ 2,500-3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำดังกล่าวถือว่ามีจำนวนมากแล้ว ดังนั้น กทม.ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากปริมาณใกล้จะเต็มศักยภาพที่ กทม.รองรับได้แล้ว กทม.ยังต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน เนื่องจากช่วงนี้มีปริมาณฝนตกมาก

ส่วนสถานการณ์ในจังหวัดต่างๆ นั้น ที่ จ.สุพรรณบุรี แม่น้ำท่าจีนในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ทะลักท่วมบ้านเรือนริมแม่น้ำแล้วกว่า 500 หลังคาเรือน เนื่อง จากแม่น้ำท่าจีนสูงกว่าถนนพระพันวษาในกลางเมือง ถึง 45 ซ.ม.แล้ว เขื่อนกั้นน้ำบางจุดเริ่มทรุด และมี 2 จุดที่เป็นอันตราย คือบริเวณเขื่อนริมน้ำยังสร้างไม่เสร็จ และถนนขุนช้าง ที่นำหินคลุกไปทำแนวกั้นน้ำ เพราะคาดว่าน้ำจะเพิ่มระดับอีก 20 ซ.ม. ขณะที่ อ.บางปลาม้า น้ำทะลักถึงกลางตลาดเก้าห้อง ตลอดเก่าแก่อายุกว่าร้อยปี น้ำอยู่ระดับหัวเข่า ต้องระดมสูบน้ำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาปัญหาในเบื้องต้น

ด้าน จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงอีก 15 ซ.ม. จนทะลักเข้าคลองต่างๆ ที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ล่าสุดลามท่วมภายในโรงเรียนเทศบาลวัดแม่นางปลื้อ ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา น้ำสูงกว่า 30 ซ.ม. ทางเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ต้องทำสะพานไม้ให้นักเรียนเดินขึ้นชั้นเรียนตามอาคารต่างๆ อีกทั้งห้องน้ำโรงเรียนก็ไม่สามารถใช้การได้แล้ว เหลือเพียงโรงอาหารที่น้ำยังเข้าไม่ถึง หากท่วมทางโรงเรียนจะปิดการเรียนการสอนทันที

นางพรทิพย์ แซ่โต้ว อายุ 45 ปี ชาวบ้านตลาดเก่า ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา หนึ่งในผู้ประสบภัย กล่าวว่า น้ำท่วมบ้านกว่า 2 เมตร จนอาศัยอยู่ไม่ได้ และกำลังจะท่วมถึงชั้นที่ 2 อาจต้องไปกินนอนอยู่บนหลังคา ทุกวันนี้ต้องเข็นรถกล้วยแขกลุยน้ำกว่า 1 เมตร ออกไปขายที่ตลาดใหม่ อ.ผักไห่ หากไม่ไปก็ไม่มีเงินประทังชีวิต อยากให้กรมชลประทานเร่งเปิดประตูระบายน้ำสูงขึ้นอีก 50 ซ.ม. จะช่วยผ่อนคลายความเดือดร้อนของชาวบ้านอีก 5 ตำบล ฝั่งตะวันตก อ.ผักไห่ อีกทั้งขณะนี้น้ำดื่มไม่มี น้ำที่ท่วมขังเริ่มเน่า ขยะเกลื่อน ไม่มีส้วมขับถ่าย ต้องใส่ถุงพลาสติกแล้วโยนลงน้ำ

ที่ จ.อ่างทอง สถานการณ์ยังหนัก แม่น้ำเจ้าพระยาที่หน้าที่ว่าการอำเภอป่าโมก สูงกว่าตลิ่ง 1 เมตรกว่า เจ้าหน้าที่เทศบาลนำกระสอบทรายกั้นป้องกันน้ำไหลเข้าบ้านเรือน แต่กระแสน้ำใต้ดินแรงมาก จนทะลักขึ้นเหนือดินไหลเข้าท่วมที่ว่าการอำเภอป่าโมกหลังเก่า ถนนหน้าสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และท่วมบ้านเรือนอีกหลายหลัง นอกจากนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก, ต.ศาลาแดง ต.มหาดไทย อ.เมืองอ่างทอง และ ต.ไผ่ดำพัฒนา อ.วิเศษชัย ชาญ ต่างเร่งเก็บเกี่ยวข้าวก่อนกำหนด เพื่อให้ทันก่อนที่น้ำระลอกใหม่จะมาถึง และล่าสุดมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 5 อำเภอ คือ อ.ป่าโมก 6 ตำบล, อ.เมือง 11 ตำบล, อ.ไชโย 7 ตำบล, อ.วิเศษชัยชาญ 5 ตำบล และ อ.โพธิ์ทอง 6 ตำบล

ขณะเดียวกัน จ.สิงห์บุรี ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งให้น้ำท่วมขยายวงกว้างมากขึ้น ลามถึงเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี บริเวณบ้านบางแคใน น้ำไหลข้ามถนนมาอีกฝั่งแล้ว เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเสริมคันกั้นน้ำ ป้องกันไม่ให้น้ำไหลข้ามถนนใต้สะพานมาอีกฝั่งในตัวเมืองสิงห์บุรี ส่วนที่ อ.อินทร์บุรี น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นประตูระบายน้ำบางโฉมศรี หมู่ 3 ต.ชี้น้ำร้าย เข้าท่วมทุ่งนาในเขตหมู่ 5 และ 6 ต.ทองเอน กว่าหลายร้อยไร่ ชาวนาต้องเร่งเกี่ยวข้าวหนีน้ำกันโกลาหล

ด้านกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กลุ่มเยาวชนตะกอนยม อบต.สะเอียบ กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย จ.แพร่ เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ คณะกรรมการชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิต ชุมชนลุ่มน้ำมูน และเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) ออกแถลงการณ์ปกป้องป่าสักทอง เพื่อรักษาแม่น้ำยม โดยระบุว่า จากสถาน การณ์แม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่ง ทำให้น้ำหลากเข้าสู่พื้นที่การเกษตร และที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน จ.พิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียง ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นอีกครั้ง โดยอาศัยสถานการณ์น้ำเป็นข้ออ้าง ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นทุกปี ทั้งฤดูแล้ง และฤดูฝน ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง และหลายครั้งเมื่อนักการเมืองหายใจเข้าออกเป็นต้องน้ำลายหกด้วยผลประโยชน์ ของไม้สักทองจำนวนมหาศาล ที่จะถูกตัดโค่นจากพื้นที่หากสร้างเขื่อนแก่ง เสือเต้น

แถลงการณ์ระบุต่อว่า ความอุดมสมบูรณ์ของป่าสักทอง สัตว์ป่า และสัตว์น้ำ กำลังถูกคุกคามจากความพยายามผลักดันให้สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ด้วยข้ออ้างว่าจะชะลอ และแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่แม่น้ำยมตอนล่างได้ แนวคิดนี้ถูกทักท้วงและคัดค้านทั้งจากชาวบ้านในพื้นที่ นักสิ่งแวดล้อม นักวิชาการ ถึงความเป็นไปได้จริงทั้งประโยชน์และผลกระทบที่จะตามมา จนนักสร้างเขื่อนต่างถอยร่น และเสนอแผนปฏิบัติการใหม่ด้วยการสร้างเขื่อนยมบนและยมล่าง เพื่อลดกระแสการต่อต้านลง ในขณะที่ผู้ที่เสนอให้สร้างเขื่อนยมบน ยมล่าง ยังไม่รู้ว่าจะสร้างบริเวณใด ผลกระทบจะมากน้อยเพียงใด เป็นเพียงการคิดโครงการในห้องแอร์ โดยไม่รู้ข้อเท็จจริงของพื้นที่ และไม่ให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในพื้น ที่และในสังคม

จาก การตรวจสอบข้อมูลของชุมชน เขื่อนยมบนและเขื่อนยมล่างจะมีลักษณะแบบขั้นบันได คือน้ำจากเขื่อนยมล่างจะท่วมถึงท้ายเขื่อนยมบน ซึ่งบริเวณอ่างเก็บน้ำของเขื่อนก็จะท่วมป่าสักทอง และพื้นที่การเกษตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชุมชนชาวสะเอียบจะได้รับผลกระทบ ไม่ต่างอะไรกับการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ดังนั้น เขื่อนยมบนและล่างก็คือเขื่อนแก่งเสือเต้น เพียงแต่สร้างวาทกรรมใหม่ เพื่อคลายอารมณ์ของคนในสังคม พวกเรามีข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน สำหรับการบริหารจัดการลุ่มน้ำยมอย่างเป็นธรรม ดังนี้ 1.ให้อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ทั่วลุ่มน้ำยมทั้ง 11 จังหวัด 2.ให้จัดการลุ่มน้ำตามสภาพความต้องการของชุมชน และสอดคล้องกับความเป็นจริงในพื้นที่ โดยให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการ เช่น ทำอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กทั่วทั้งลุ่มน้ำยม ทั้ง 98 ตำบล และ 3.ให้จัดทำแก้มลิงในพื้นที่น้ำท่วม และลุ่มน้ำสาขาทั้ง 77 ลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำยม

No comments:

Post a Comment